วิธีการติดตั้ง Joomla! 1.5.x บน Host
หลังจากที่เช่า host และ จดโดเมนแล้ว เราจะได้ user และ password สำหรับ login เข้าสู่หน้าจัดการเว็บไซต์ ที่เรียกว่า Control Panel ซึ่ง host แต่ละเจ้าอาจจะใช้ตัว Control Panel ไม่เหมือนกัน ที่นิยมใช้ในบ้านเราคือ cPanel หรือ Direct Admin
ให้เรา login เข้าหน้าจัดการไปสร้างฐานข้อมูล ถ้าไม่รู้ว่าจะเข้าหน้า Control Panel ได้อย่างไร ให้ถามไปทาง host ก่อนนะคะ
1. สร้าง Database สำหรับใช้งาน Joomla! บน Host ผ่านหน้าจัดการเว็บไซต์ cPanel หรือ DirectAdmin
สำหรับ cPanel ให้คลิกที่ MySQL Databases
สร้าง Database
สร้าง User สำหรับใช้งาน Database
จับคู่ Database กับ User ที่ใช้งาน
สำหรับ DirectAdmin คลิกที่เมนู MySQL Management แล้วคลิกที่ Create new Database ให้ระบุชื่อฐานข้อมูล, ผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน แล้วกดปุ่ม Create
.
2. ดาวน์โหลดตัวติดตั้ง Joomla! ได้ที่เว็บไซต์ joomla.org
3. ไฟล์ตัวติดตั้งจะมีนามสกุล .zip ให้แตกไฟล์ด้วยโปรแกรม WinZip หรือ WinRAR จะได้ไฟล์ดังภาพ
.
4. Upload ไฟล์ทั้งหมดไปยัง Host โดยใช้โปรแกรม FTP เช่น Filezilla
ถ้าต้องการให้เข้าหน้าแรกของเว็บไซต์แล้วเป็น Joomla เลยให้ upload file ไว้ที่ public_html
ถ้าต้องการให้ใช้งานผ่าน path อื่น เช่น “http://www.yourdomail.com/chinese/” ให้สร้าง folder ชื่อ ”chinese” ก่อน แล้ว upload file ไว้ที่ folder “chinese”
.
5. เปิดโปรแกรม Notepad แล้วบันทึกหน้าว่างๆ นั้นเป็นชื่อ “configuration.php” แล้วให้ Upload file นี้ขึ้นไปยัง Host ด้วย จากนั้นคลิกขวาที่ไฟล์นี้ เลือกเมนู File Permission.. ให้กำหนดเป็น 777 โดยคลิก / ใน check box ทุกอัน (หรือระบุตัวเลขเอง) เพื่อให้สามารถเขียนค่าต่างๆ ทับไฟล์นี้ได้
** หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เปลี่ยน File Permission กลับมาเป็น 644 ด้วยค่ะ ***
6. เปิดโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (IE, Firefox) แล้วพิมพ์ url
http://www.yourdomail.com หรือ
http://www.yourdomain.com/chinese หรือชื่อ folder ที่คุณได้ upload file ไว้
จะปรากฏหน้าการติดตั้ง Joomla! Installation ให้เลือกภาษาที่คุณต้องการติดตั้ง (ภาษาไทยก็มีนะคะ) แล้วคลิกปุ่ม Next ที่มุมบนขวา
.
7. ตรวจสอบความพร้อมของ Software ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น PHP ต้องเป็นเวอร์ชั่น 4.3 ขึ้นไป ถ้าทุกอย่างผ่านหมด ควรจะเป็น Yes ทุกบรรทัด จากนั้นให้คลิก Next
.
8. ทำความเข้าใจและยอมรับเกี่ยวกับข้อตกลง License แล้วคลิก Next
.
9. กำหนดค่าเกี่ยวกับ Database ให้เลือกชนิดของ Database เป็น mysql, ระบุชื่อของ Host เป็น localhost, ระบุ Username, Password และ Database Name ตามที่เรากำหนดในข้อ 1 แล้วคลิก Next ไปขั้นตอนต่อไป
.
10. หน้าการกำหนดค่า FTP หากเราไม่จำเป็นต้องใช้งานให้คลิก Next ผ่านไป
11. กำหนดข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา ให้ระบุชื่อเว็บไซต์, e-mail และ password ของผู้ดูแลระบบ
ที่ด้านล่างถัดไปให้กดปุ่ม Install Sample Data เพื่อติดตั้งตัวอย่างข้อมูลในเว็บไซต์ เมื่อระบบติดตั้งให้เสร็จแล้วจะแสดงข้อความว่า “Sample data installed successfully” จากนั้นคลิก Next ค่ะ
.
12. เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการติดตั้งแล้วค่ะ ให้หน้านี้จะมีข้อความแจ้งว่าเราติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว และบอกให้เราไปลบ directory ชื่อ ”Installation” ทิ้งด้วย มิฉะนั้นจะยังไม่สามารถใช้งาน Joomla! ได้
ที่ด้านบนมุมขวาจะมีปุ่ม “Admin” สำหรับลิงค์ไปหน้าของผู้ดูแลเว็บ สำหรับบริหารจัดการเว็บไซต์ เช่น จัดการเนื้อหา, ผู้ใช้งาน, โฆษณา และอื่นๆ อีก เราสามารถ login ด้วย user “admin” และ password ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 11 ค่ะ
.
ส่วนปุ่ม “Site” สำหรับลิงค์ไปหน้าเว็บไซต์ของเราค่ะ เนื้อหาที่เราเห็นในเว็บไซต์นั้นเกิดจากการที่เราติดตั้งตัวอย่างข้อมูลในข้อ 11 ค่ะ
ในบทความต่อไปเราจะมาพูดถึงการใช้งานในหน้าจัดการเว็บไซต์ของผู้ดูแลเว็บกัน
ที่มา http://www.enjoyday.net
ให้เรา login เข้าหน้าจัดการไปสร้างฐานข้อมูล ถ้าไม่รู้ว่าจะเข้าหน้า Control Panel ได้อย่างไร ให้ถามไปทาง host ก่อนนะคะ
1. สร้าง Database สำหรับใช้งาน Joomla! บน Host ผ่านหน้าจัดการเว็บไซต์ cPanel หรือ DirectAdmin
สำหรับ cPanel ให้คลิกที่ MySQL Databases
สร้าง Database
สร้าง User สำหรับใช้งาน Database
จับคู่ Database กับ User ที่ใช้งาน
สำหรับ DirectAdmin คลิกที่เมนู MySQL Management แล้วคลิกที่ Create new Database ให้ระบุชื่อฐานข้อมูล, ผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน แล้วกดปุ่ม Create
.
2. ดาวน์โหลดตัวติดตั้ง Joomla! ได้ที่เว็บไซต์ joomla.org
3. ไฟล์ตัวติดตั้งจะมีนามสกุล .zip ให้แตกไฟล์ด้วยโปรแกรม WinZip หรือ WinRAR จะได้ไฟล์ดังภาพ
.
4. Upload ไฟล์ทั้งหมดไปยัง Host โดยใช้โปรแกรม FTP เช่น Filezilla
ถ้าต้องการให้เข้าหน้าแรกของเว็บไซต์แล้วเป็น Joomla เลยให้ upload file ไว้ที่ public_html
ถ้าต้องการให้ใช้งานผ่าน path อื่น เช่น “http://www.yourdomail.com/chinese/” ให้สร้าง folder ชื่อ ”chinese” ก่อน แล้ว upload file ไว้ที่ folder “chinese”
.
5. เปิดโปรแกรม Notepad แล้วบันทึกหน้าว่างๆ นั้นเป็นชื่อ “configuration.php” แล้วให้ Upload file นี้ขึ้นไปยัง Host ด้วย จากนั้นคลิกขวาที่ไฟล์นี้ เลือกเมนู File Permission.. ให้กำหนดเป็น 777 โดยคลิก / ใน check box ทุกอัน (หรือระบุตัวเลขเอง) เพื่อให้สามารถเขียนค่าต่างๆ ทับไฟล์นี้ได้
** หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เปลี่ยน File Permission กลับมาเป็น 644 ด้วยค่ะ ***
6. เปิดโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (IE, Firefox) แล้วพิมพ์ url
http://www.yourdomail.com หรือ
http://www.yourdomain.com/chinese หรือชื่อ folder ที่คุณได้ upload file ไว้
จะปรากฏหน้าการติดตั้ง Joomla! Installation ให้เลือกภาษาที่คุณต้องการติดตั้ง (ภาษาไทยก็มีนะคะ) แล้วคลิกปุ่ม Next ที่มุมบนขวา
.
7. ตรวจสอบความพร้อมของ Software ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น PHP ต้องเป็นเวอร์ชั่น 4.3 ขึ้นไป ถ้าทุกอย่างผ่านหมด ควรจะเป็น Yes ทุกบรรทัด จากนั้นให้คลิก Next
.
8. ทำความเข้าใจและยอมรับเกี่ยวกับข้อตกลง License แล้วคลิก Next
.
9. กำหนดค่าเกี่ยวกับ Database ให้เลือกชนิดของ Database เป็น mysql, ระบุชื่อของ Host เป็น localhost, ระบุ Username, Password และ Database Name ตามที่เรากำหนดในข้อ 1 แล้วคลิก Next ไปขั้นตอนต่อไป
.
10. หน้าการกำหนดค่า FTP หากเราไม่จำเป็นต้องใช้งานให้คลิก Next ผ่านไป
11. กำหนดข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา ให้ระบุชื่อเว็บไซต์, e-mail และ password ของผู้ดูแลระบบ
ที่ด้านล่างถัดไปให้กดปุ่ม Install Sample Data เพื่อติดตั้งตัวอย่างข้อมูลในเว็บไซต์ เมื่อระบบติดตั้งให้เสร็จแล้วจะแสดงข้อความว่า “Sample data installed successfully” จากนั้นคลิก Next ค่ะ
.
12. เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการติดตั้งแล้วค่ะ ให้หน้านี้จะมีข้อความแจ้งว่าเราติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว และบอกให้เราไปลบ directory ชื่อ ”Installation” ทิ้งด้วย มิฉะนั้นจะยังไม่สามารถใช้งาน Joomla! ได้
ที่ด้านบนมุมขวาจะมีปุ่ม “Admin” สำหรับลิงค์ไปหน้าของผู้ดูแลเว็บ สำหรับบริหารจัดการเว็บไซต์ เช่น จัดการเนื้อหา, ผู้ใช้งาน, โฆษณา และอื่นๆ อีก เราสามารถ login ด้วย user “admin” และ password ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 11 ค่ะ
.
ส่วนปุ่ม “Site” สำหรับลิงค์ไปหน้าเว็บไซต์ของเราค่ะ เนื้อหาที่เราเห็นในเว็บไซต์นั้นเกิดจากการที่เราติดตั้งตัวอย่างข้อมูลในข้อ 11 ค่ะ
ในบทความต่อไปเราจะมาพูดถึงการใช้งานในหน้าจัดการเว็บไซต์ของผู้ดูแลเว็บกัน
ที่มา http://www.enjoyday.net
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น